วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2550

ความหมายของเครือข่ายการเรียนรู้

กลุ่มองค์กรรัฐและนักวิชาการ ให้ความหมายที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายไว้ดังนี้
เครือข่ายการเรียนรู้ คือ การที่ชาวบ้านรวมตัวกัน ขบคิดปัญหาของเขา รวมพลังแก้ปัญหา และหาผู้นำขึ้นมาจากหมู่ชาวบ้านด้วยกันเอง แล้วรวมตัวกันเพื่อมีอำนาจต่อรอง มีการต่อสู้ทางความคิด มีการเรียนรู้จากภายนอก มีการไปมาหาสู่กันเรียนรู้ดูงานด้วยกัน จนกระทั่งเกิดเป็นกระบวนการแก้ปัญหาได้ การทำมาหากินดีขึ้น เศรษฐกิจแต่ละครอบครัวดีขึ้น (เอกวิทย์ ณ ถลาง, 2539)
เครือข่ายการเรียนรู้ หมายถึงการประสานแหล่งความรู้และข้อมูลข่าวสารการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติและการปฏิบัติงานอย่างสอดคล้อง เชื่อมโยงกันทั้งระหว่างงานที่รับผิดชอบ การจัดการศึกษาในและนอกระบบโรงเรียนและระหว่างหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในระดับต่างๆ ตลอดจนระบบการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ เพื่อสร้างแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดและกระจายความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสได้เรียนรู้อย่างกว้างขวางและต่อเนื่องตลอดชีวิต ตามความต้องการของบุคคลและชุมชน (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2535)
เครือข่ายการเรียนรู้ หมายถึง ขอบเขตแห่งความสัมพันธ์ของกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีลักษณะประสาน ติดต่อสัมพันธ์ เชื่อมโยงอย่างต่อเนื่องในกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งหรือหลายกิจกรรม ระหว่างคนกับคน คนกับกลุ่ม และกลุ่มกับกลุ่ม" (ประทีป อินแสง, 2539)

กลุ่มเครือข่ายเทคโนโลยี ซึ่งใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเป็นเครื่องมือหลักในการสัมพันธ์และเชื่อมโยงคนและองค์กรที่เกี่ยวข้อง เป็นเครือข่ายที่มีบทบาทสูงในภาคสังคมเมือง ธุรกิจ และสถาบันการศึกษา
ชาติชาย ณ เชียงใหม่ (2533 : 209 – 214) อธิบายถึงเรื่องนี้ว่า เครือข่ายสังคม หมายถึงกลุ่มของความสัมพันธ์ที่บุคคลมีต่อกัน โดยลักษณะของความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นสามารถนำมาใช้อธิบายพฤติกรรมของบุคคลเหล่านั้นได้ เครือข่ายสังคมนี้ประกอบขึ้นด้วยความสัมพันธ์ทางสังคมทั้งหมด การเรียนรู้ของบุคคล หรือกลุ่มองค์กรใดก็ตาม ย่อมสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเครือข่ายทางสังคมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ความสัมพันธ์ทางเครือญาติ เพื่อน และความสัมพันธ์ในฐานะของบุคคลหรือองค์กรที่มีปัญหา มีกิจกรรมที่ปฏิบัติการทางสังคมร่วมกัน ที่ทำให้ชุมชนสามารถดำรงอยู่ได้
อนุรักษ์ ปัญญานุวัฒน์, รหัน แตงจวง และสุกัญญา นิมานันท์ (2536 : 17) อธิบายว่า เครือข่ายการเรียนรู้หมายถึง สภาพการเรียนรู้อย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ และระหว่างประเทศหรือทวีป ตลอดจนการรับรู้ข่าวสาร ผ่านสื่อการเรียนรู้ทีมีอยู่อย่างหลากหลาย ทั้งประเภทสื่อบุคคล และสื่อสารมวลชนประเภทต่าง ๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเสียงและภาพเป็นต้น ที่จะเอื้อให้เกิดการเรียนรู้ทีมีผลต่อการดำรงชีวิต การเปลี่ยนแปลงสังคมและคุณภาพชีวิตของคน
กรมการศึกษานอกโรงเรียน (2542 : 100 – 102) อธิบายความหมายว่า หมายถึงการเชื่อมโยงประสานสัมพันธ์แหล่งความรู้ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ข้อมูลระหว่างกัน โดยมีบุคคลที่มีความถนัดในด้านต่าง ๆ ซึ่งสามารถถ่ายทอดความรู้ให้บุคคลอื่น ๆ ได้

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2542 : 1) อธิบายอย่างสอดคล้องกันว่า เครือข่ายการเรียนรู้ หมายถึงการประสานแหล่งความรู้ และข้อมูลข่าวสาร การใช้ทรัพยากร และการปฏิบัติงานอย่างสอดคล้อง ตลอดจนระบบการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ เพื่อสร้าง แลกเปลี่ยนถ่ายทอดและกระจายความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ เพื่อสร้าง แลกเปลี่ยน ถ่ายทอดและกระจายความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง และต่อเนื่องตลอดชีวิต ตามความต้องการของบุคคลและชุมชน
ในทัศนะของ สุวัฒน์ แก้วสังข์ทอง (2543 : 53 – 54) นั้น อธิบายเพิ่มเติมไว้อย่างน่าสนใจว่า เครือข่ายการเรียนรู้ หมายถึง การจัดระบบและพัฒนาให้แหล่งความรู้ ซึ่งหมายถึง องค์กร สถานประกอบการบุคคล ศูนย์ข่าวสารข้อมูล สถานที่ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้สามารถถ่ายโยงเกิดกระบวนการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน หรือ ผู้สนใจ ได้ทั้งความรู้ ทักษะ เกี่ยวกับ อาชีพ สังคม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี ศาสนา และศิลปวัฒนธรรมที่เป็นของดีดั้งเดิม และที่พัฒนาแล้ว ที่มีอยู่ในชุมชน อำเภอ จังหวัดดังนั้นโดยสรุปแล้ว เครือข่ายการเรียนรู้ หมายถึงการกระจาย เชื่อมโยง หรือแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งกันและกัน ระหว่างกลุ่มบุคคลอย่างต่อเนื่องและกว้างขวาง โดยมีการจัดระบบและวิธีการเรียนรู้ต่าง ๆ กัน ตามความต้องการของบุคคลเครือข่ายสังคม

พิมพ์วัลย์ ปรีดาสวัสดิ์ (2533 : 346 – 347) กล่าวให้เห็นถึงแนวคิดเดียวกันนี้ว่าเครือข่ายสังคมให้เป็นรูปธรรมขึ้นมา เครือข่ายสังคมเปรียบเสมือนรูปภาพของจุดต่าง ๆ ที่มีเส้นหลาย ๆ เส้น โยงมาระหว่างจุดต่าง ๆ เหล่านี้กับจุดหนึ่ง ซึ่งเป็นศูนย์กลาง จุดศูนย์กลางเปรียบเสมือนกับบุคคลหนึ่ง และจุดต่าง ๆ เป็นตัวแทนของบุคคลอื่น ๆ รอบ ๆ ข้างที่บุคคลนั้นมีความสัมพันธ์ด้วยการเชื่อมโยงด้วยเส้นโยงหลาย ๆ เส้นนั้น หมายถึงความสัมพันธ์ทางสังคมที่สำคัญคือ การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลกับบุคคลอื่น ๆ การปฏิสัมพันธ์ (Interaction) และการแลกเปลี่ยน ข่าวสาร ข้อมูล เครื่องใช้ไม้สอย อาหาร การบริการ (Transaction) ระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลการศึกษาเครือข่ายสังคมเป็นความสัมพันธ์ทางสังคมที่บุคคลมีต่อกันและกัน ภายในเครือข่ายสามารถแบ่งได้หลายปริมณฑล (Zones) ซึ่งการกำหนดขอบเขตของเครือข่ายสังคมนั้น
พิมพ์วัลย์ ปรีดาสวัสดิ์ (2533 : 355 – 356) ได้นำแนวคิดของ บัวเซแวน (Boisseveain. 1947 : 355 – 356) มาอธิบายให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เครือข่ายบุคคลนั้นควรประกอบไปด้วยปริมณฑลที่สำคัญอย่างน้อย 3 ปริมณฑลด้วยกันคือ

1) ปริมณฑลแรกควรประกอบด้วยบุคคลต่าง ๆ ที่ใกล้ชิดกับบุคคลที่เป็นศูนย์กลางมากที่สุด อันได้แก่ ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นเครือข่ายใกล้ชิด (Intimate Network)
2) ปริมณฑลที่สองได้แก่เครือข่ายรอง (Effective Network) ซึ่งประกอบไปด้วยบุคคลต่าง ๆ ที่บุคคลซึ่งเป็นศูนย์กลางรู้จักคุ้นเคยน้อยกว่ากลุ่มแรก กลุ่มนี้มักได้แก่ญาติพี่น้องที่ห่าง ๆ ออกไป เพื่อนฝูงและคนที่รู้จักคุ้นเคยอื่น ๆ และ 3) ปริมณฑลที่สามได้แก่ กลุ่มบุคคลซึ่งบุคคลที่เป็นที่หนึ่ง ซึ่งเรียกว่า เครือข่ายขยาย (Extended Network)
นิยพรรณ วรรณศิริ (2540 : 216) เสนอว่า ระบบเครือญาติ เป็นสภาพของความสัมพันธ์ของบุคคลจากวงแคบที่สุดนับจากตัวเราไปถึงวงกว้างเท่าที่พอนับได้ วงแคบที่สุดคือวงของครอบครัว และวงกว้างที่สุดอาจนับถึงเผ่าพันธ์ แต่ส่วนใหญ่การนับความสัมพันธ์ทางเครือญาติ มักนับในวงแคบมากกว่าวงกว้าง โดยเริ่มนับจากระดับความสัมพันธ์ของบุคคลในครัวเรือนเดียวกันก่อนการเรียนรู้โดยเครือข่ายสังคม
ชยันต์ วรรธนะภูติ (2542 : 30 – 35) เสนอแนะว่า กระบวนการเรียนรู้นั้นมี 2 ลักษณะ คือ
1) การเรียนรู้แบบดั้งเดิมที่เป็นการเรียนรู้ในมิติวัฒนธรรม รวมทั้งการเรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิต
2) การเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับภายนอก เช่น จากนักวิชาการ นักพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่กล่าวมานี้ มีข้อพิจารณา 2 ประเด็นคือ
1.) แนวคิดของเครือข่ายการเรียนรู้ มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับ
(ก) เครือข่ายสังคม มีส่วนทำให้เครือข่ายการเรียนรู้เกิดขึ้นและถ่ายไปมาได้
(ข) แม่ข่าย อาจเป็นแม่ข่ายเดียว หรือหลายแม่ข่าย
(ค) วิถีชีวิต โดยเครือข่ายการเรียนรู้มีฐานอยู่บนวิถีชีวิตหรือการปฏิบัติการทางสังคม
2) องค์ประกอบของการเรียนรู้ ควรประกอบด้วย
(ก) องค์ความรู้ และ
(ข) กระบวนการเรียนรู้
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2543 : 4) เสนอแนวคิดที่สอดคล้องกันไว้อย่างน่าสนใจว่า กระบวนการเรียนรู้โดยเครือข่ายสังคมที่เป็นชุมชนนั้น มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ ประสานการเรียนรู้ และผู้รู้ในชุมชน ซึ่งทำหน้าที่เป็น “แม่ข่าย” ในการขยายการเรียนรู้ของบุคคลและชุมชนออกไปในวงกว้าง ผู้ประสานการเรียนรู้เป็นบุคคลในชุมชน ซึ่งอาจมีสถานภาพที่หลากหลาย เช่น เป็นผู้นำชาวบ้าน ผู้นำทางศาสนา เป็นต้น ผู้ประสานการเรียนรู้นี้ทำหน้าที่ให้กระตุ้นให้บุคคลและชุมชนเกิดความใฝ่แสวงหาความรู้ เกิดการแลกเปลี่ยนและกระจายความรู้ทั้งภายในชุมชนและระหว่างชุมชนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ส่วนผู้รู้ในชุมชนได้แก่ ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือผู้ที่ทรงไว้ซึ่งความรู้ดั้งเดิม ที่สะสมมาภายในชุมชน ผู้ประสานการเรียนรู้ และผู้รู้ในชุมชนอาจเป็นบุคคลเดียวกัน ที่ทำหน้าที่ทั้งสองลักษณะก็ได้โดยนัยดังกล่าวนี้กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจึงเป็นการเรียนรู้ที่ผสมกลมกลืนเข้ากับวิถีชีวิตของคนในชุมชน เพราะทั้งบุคคลก็เป็นที่ยอมรับนับถือในชุมชน และองค์ความรู้ที่มีการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนอยู่ในชุมชนก็ได้ผ่านกระบวนการปรับให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนก่อนแล้วสรุปแล้วเครือข่ายการเรียนรู้เป็นการเรียนรู้ที่ต้องอาศัยเครือข่ายสังคมเป็นพื้นฐานสำคัญ และผู้ที่เป็นแม่ข่ายนั้นประกอบด้วยบุคคลที่มีสถานภาพต่าง ๆ กัน กระบวนการถ่ายทอดความรู้และทักษะการทำเครื่องทองถือต้องอาศัยทั้งเครือข่ายการเรียนรู้และเครือข่ายสังคม เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของบุคคลโดยเครือข่ายสังคม โดยผู้ถ่ายทอดความรู้ตามลักษณะความสัมพันธ์ทางสังคม ผู้เรียนที่ได้รับความรู้มา จะเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ลำดับต่อไปให้กับคนอื่น ๆ เป็นเครือข่ายของความรู้ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง

ธนภัทร ลีพุด มีแนวคิดว่าเครือข่ายการเรียนรู้หมายถึงการเรียนรู้ในระบบคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ประกอบกิจกรรมทางการศึกษาของมนุษย์ทั้งในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา และการศึกษาผู้ใหญ่ โดยมีองค์ประกอบสำคัญคืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โปรแกรมที่ใช้ควบคุมระบบการทำงานและเครือข่ายการสื่อสาร นอกจากนี้การเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนยังแตกต่างกันออกไปตามความสามารถในการสื่อสารของตัวผู้เรียนเองและสภาวะ
แวดล้อมในการเชื่อมโยงข้อมูลอีกด้วย การศึกษาในเครือข่ายการเรียนรู้ นับเป็นการศึกษาแบบอะซิงโครนัส (Asynchronous Learning)เป็นการเรียนการสอนที่ ไม่จำกัดเวลา สถานที่ และบุคคล ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนเวลาใด สถานที่ใด กับบุคคลใดก็ได้โดยมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามาใช้ในการเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบเครือข่ายภายในสถานศึกษาและเชื่อมต่อไปสู่ระบบอินเทอร์เน็ตจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ ในการเรียนรู้ของผู้เรียนเนื่องจากผู้เรียนมีความพร้อมและสะดวกในการเรียนแต่ละครั้งผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากบทเรียนออนไลน์มีการใช้เว็บบอร์ดใช้ระบบมัลติมีเดียเพื่อเชื่อมการเรียน การสอนถึงกันตลอดเวลาทำให้เกิดการเรียนการสอนทางไกลและการเรียนการสอนออนดีมานด์
สมิทธ์ สระอุบล (2533 : 109 - 110)อ้างอิงจาก บุญลือ วันทายนต์ (2530 : 153 – 156)ที่ชี้ให้เห็นว่า เครือญาติเป็นเรื่องของระบบความสัมพันธ์ระหว่างญาติพี่น้อง ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันในรูปความสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคม โดยเริ่มต้นจากความสัมพันธ์ในครอบครัวก่อน ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ขั้นต้นของมนุษย์ และความสัมพันธ์นี้เองก่อให้เกิดระบบเครือญาติขึ้น ในเมื่อทุกสังคมและทุกครอบครัวซึ่งสมาชิกมีความสัมพันธ์กับแต่ละสังคม ก็ทำให้ความสัมพันธ์ขยายตัวออกไปเป็นเครือข่ายสังคมกว้างขวางขึ้น ดังนั้นเครือญาติจึงเป็นที่รวมของบรรดาความสัมพันธ์ของบุคคลในสังคมที่เกี่ยวข้องกัน

ไม่มีความคิดเห็น: